R U Ok

  • Author: Vários
  • Narrator: Vários
  • Publisher: Podcast
  • Duration: 150:05:13
  • More information

Informações:

Synopsis

Episodes

  • RUOK207 ถ้าสมองสั่งให้รักเงิน จะทำให้อย่างไรมีความสุขนอกจากการใช้เงินบ้าง

    28/09/2020 Duration: 34min

    หากนับจากวิวัฒนาการ มนุษย์เราใช้เครื่องมือบางอย่างเพื่อทำให้มีชีวิตรอด จนก้าวเข้าสู่โลกทุนนิยม ‘เงิน’ กลายเป็นตัวกลางที่สมองเราเรียนรู้ว่าคือสิ่งที่ทำให้รู้สึกมั่นคง ปลอดภัย แต่บางครั้งอาจหลงลืมไปว่าเงินเป็นเพียงตัวกลางที่จะนำไปสู่สิ่งที่เราต้องการมากกว่านั้น R U OK คุยกับ หมอนัท คลินิกกองทุน ว่าในภาวะที่การเงินหลายคนเริ่มฝืดเคือง เราสามารถหาความสุข และความมั่นคงทางใจได้อย่างไรบ้าง โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยเงินเป็นเรื่องสูงสุดเสมอไป

  • RUOK206 Time Management กุญแจสำคัญที่จัดการทั้งงาน ครอบครัว และความต้องการส่วนตัว

    24/09/2020 Duration: 27min

    ในช่วงเวลาวิกฤตมักมีเรื่องที่เราจัดการไม่ได้ และอยู่นอกเหนือการควบคุมอยู่เต็มไปหมด แต่เราอาจลืมไปว่าสิ่งหนึ่งที่ทุกคนมีเท่ากันนั่นคือ ‘เวลา’ และเวลานี่เองคือกุญแจสำคัญที่เป็นพื้นฐานตั้งต้นในการจัดการเรื่องยากๆ ทั้งหลายในชีวิต R U OK คุยกับ สีตลา ชาญวิเศษ ที่นอกจากจะเป็นพนักงานออฟฟิศ เป็นผู้ดูแลครอบครัว ยังไม่ลืมที่จะจัดสรรให้เวลากับความต้องการของตัวเอง ซึ่งเธอยืนยันว่าไม่ว่าใครหากเข้าใจหลักในการจัดสรรเวลาแล้ว จะสามารถทำทุกอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • RUOK205 เป็นกำลังใจให้ตัว เพื่อให้ผ่านพ้นวันยากๆ

    21/09/2020 Duration: 23min

    เป็นธรรมดาถ้าจะรู้สึกว่า ‘วันนี้ไม่ใช่วันของเรา’ เพราะปัญหาที่ผ่านเข้ามาทำให้เราท้อ เราถอยได้ง่ายๆ   R U OK ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังก้าวผ่านอุปสรรค ได้โปรดเชื่อมั่นในจุดแข็งของตัวเองว่าเราสามารถใช้มันผ่านเรื่องยากๆ ได้เสมอ และเรื่องยากในวันนี้ที่เจอมันจะเป็นอีกเรื่องที่จะค่อยๆ อยู่กับมันได้ แม้จะรู้สึกยาวนานแค่ไหนก็ตาม

  • RUOK204 อะไรทำให้คนกลายเป็นอาชญากร

    17/09/2020 Duration: 21min

    สาเหตุอะไรที่ทำให้คนคนหนึ่งกลายเป็นอาชญากรทำสิ่งผิดกฎหมาย และทำร้ายผู้อื่นได้ R U OK ชวน ผศ. ดร.ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล นักอาชญาวิทยา มาให้ความรู้ว่ามีแรงจูงใจอะไรที่ทำให้มนุษย์สามารถกลายเป็นอาชญากร ที่มาเหล่านั้นมีผลต่อการตัดสินใจในการก่ออาชญากรรมอย่างไร หากเราสามารถเข้าใจ ‘ผู้กระทำ’ ที่อาจเคยเป็น ‘ผู้ถูกกระทำ’ มากขึ้น ก็อาจนำไปสู่การลดความเจ็บปวดทางใจของใครสักคน และสามารถลดความเสี่ยงที่ทำให้มนุษย์คนหนึ่งจะต้องกลายเป็นอาชญากรเลยก็ได้

  • RUOK203 อาชญาวิทยาและจิตวิทยา ร่วมค้นหาแรงจูงใจของผู้กระทำความผิด

    14/09/2020 Duration: 23min

    นอกจากจิตวิทยาจะเป็นศาสตร์ที่ทำหน้าที่เข้าใจมนุษย์แล้ว ยังมีอีกศาสตร์หนึ่งนั่นคือ ‘อาชญาวิทยา’ ที่มีอยู่ในไทยมาอย่างยาวนาน ศาสตร์นี้เน้นการทำความเข้าใจมนุษย์ผู้กระทำความผิดโดยเน้นที่แรงจูงใจ ประกอบกับกระบวนการทางยุติธรรม R U OK คุยกับ ผศ.ดร.ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล ประธานหลักสูตรอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล ชวนสำรวจว่าพฤติกรรมใดที่เข้าข่ายความผิดตามกฎหมาย เพื่อจะได้ย้อนระวังและทำความเข้าใจตัวเอง

  • RUOK202 ความเหลื่อมล้ำในโรงเรียน ศิษย์รัก และ Beauty Privilege

    10/09/2020 Duration: 34min

    มินและนิ้ง ตัวแทนนักเรียนจากทวิตเตอร์แอ็กเคานต์ นักเรียนเลว ที่สร้างความเคลื่อนไหวในสังคมด้วยการรณรงค์เรื่องความเท่าเทียมและสิทธิมนุษยชนของนักเรียนในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ได้ออกมาเล่าถึงความเหลื่อมล้ำในโรงเรียนที่หลายคนมองไม่ออก สัมผัสไม่ได้ ผ่านพอดแคสต์ R U OK เอพิโสดนี้ เพื่อให้เห็นภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน และเพื่อบอกว่า ทุกคนมีส่วนช่วยให้ปัญหานี้ดีขึ้นได้

  • RUOK201 Crowdsourcing ระดมไอเดียแก้ปัญหา Cyberbullying

    07/09/2020 Duration: 50min

    เพราะการแก้ไขปัญหา Cyberbullying ไม่ได้มีเพียงสูตรสำเร็จเพียงอย่างเดียว R U OK และ #dtacSafeInternet จำลองการ Crowdsourcing หรือระดมไอเดียเพื่อแก้ปัญหาการกลั่นแกล้งออนไลน์ โดยเชิญนักจิตวิทยา ตัวแทนครู ตัวแทนนักเรียน และนักกิจกรรมวัยรุ่น มาช่วยกันแก้ไข 5 สถานการณ์ตัวอย่าง ต่างมุมมอง ต่างเหตุผล และผู้ฟังก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหานี้ได้

  • RUOK200 ทำไมครูถึงไม่ทำอะไรเมื่อเกิดการบูลลี่ และถ้าอยากให้ตระหนักถึงปัญหานี้ควรทำอย่างไร

    04/09/2020 Duration: 38min

    เมื่อเกิดเหตุการณ์บูลลี่ขึ้นในโรงเรียน หลายครั้งนักเรียนอาจรู้สึกว่าทำไมครูถึงไม่จัดการอะไร ถ้าไม่รับฟังเฉยๆ บางครั้งก็ลงโทษซ้ำทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำจนเป็นแผลทางใจ R U OK ชวนคุณครู 3 ท่านมาเปิดเผยความหนักใจว่าต้องระมัดระวังแค่ไหน การกระทำจะไม่เป็นแผลทางใจกับเด็ก และหากจะสร้างทักษะให้ครูและทุกคนในโรงเรียนตระหนักในปัญหาเรื่องการบูลลี่ต้องเริ่มต้นที่ตรงไหน

  • RUOK199 จอยลดา สุ่มเสี่ยง หมิ่นเหม่หรือไม่ โลกของนิยายออนไลน์มีอะไรให้ต้องระวังบ้าง

    01/09/2020 Duration: 33min

    จอยลดา คือแพลตฟอร์มนิยายออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูง โดยเฉพาะผู้อ่านวัยรุ่น เพราะมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับความสนใจ แต่ผู้ใหญ่หลายคนยังไม่เข้าใจว่านิยายออนไลน์มีรูปแบบอย่างไร จึงเต็มไปด้วยความเป็นห่วง R U OK ชวนนักอ่าน นักเขียนจอยลดา จากโครงการ dtac Safe Internet และ Community Manager จากจอยลดา มาร่วมทำความเข้าใจกันว่าความเสี่ยงในการใช้แพลตฟอร์มนิยายออนไลน์มีอะไร และจะสร้างให้เกิดความเข้าใจกันในครอบครัวได้อย่างไรบ้าง

  • RUOK198 ถูกแกล้งมาจากที่โรงเรียน จะปรึกษาพ่อแม่ดีไหม? ทำอย่างไรได้บ้าง?

    27/08/2020 Duration: 24min

    เมื่อการบูลลี่เกิดขึ้นที่โรงเรียน หลายครั้งเด็กก็ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร จะบอกเพื่อนก็รู้สึกเป็นปมด้อย บอกครูก็ไม่แน่ใจ แต่ครอบครัวคือส่วนสำคัญที่จะช่วยเหลือให้เขาผ่านพ้นเวลาเหล่านั้นไปได้ R U OK คุยกับ เบญจรัตน์​ จงจำรัสพันธ์ นักจิตวิทยาโรงเรียน ที่วันนี้มาในฐานะพี่สาวของครอบครัวที่มีน้องชายมีภาวะออทิสติกและถูกแกล้งอยู่เสมอ พร้อมแชร์ประสบการณ์ที่ยืนยันว่า ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ครอบครัวคือส่วนซัพพอร์ตทางใจที่สำคัญ

  • RUOK SPECIAL02 วิธีคุยเรื่องการเมืองในครอบครัว เมื่อความต่างไม่ใช่ความผิด

    26/08/2020 Duration: 34min

    เราเชื่อว่าการเมืองเป็นเรื่องของทุกคน และเชื่อว่าการเมืองเป็นเรื่องที่ยกขึ้นมาพูดคุยได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสื่อสารกัน โดยเฉพาะหน่วยเล็กที่สุดอย่างครอบครัว R U OK เสนอวิธีการสื่อสารเรื่องการเมืองภายในครอบครัว ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ปรับความคิดอย่างไรเมื่อ ‘ความต่าง’ ไม่ใช่ ‘ความผิด’ จนไปถึงรับมือกับความรู้สึกตัวเองอย่างไรเมื่อเกิดความไม่เห็นด้วย

  • RUOK197 ใช้มือถือ ≠ เล่นมือถือ สร้างความเข้าใจอย่างไรถ้ารู้สึกว่าลูกใช้เวลากับมือถือมากเกินไป

    25/08/2020 Duration: 27min

    “เล่นมือถืออีกแล้ว”   เด็กๆ หลายคนอาจเคยถูกผู้ปกครองดุ ทั้งๆ ที่เพิ่งหยิบมือถือขึ้นมา หรือไม่ก็รู้สึกว่าไม่ได้เล่น แต่คุยกับเพื่อนเรื่องงานอยู่ต่างหาก   R U OK เอพิโสดนี้ชวนตัวแทนคุณพ่อมาแชร์ปัญหาที่หลายครอบครัวพบเจอ เรื่องความไม่เข้าใจกันในการใช้เวลาในการเล่นมือถือ พ่อแม่จะเข้าไปสอดส่องแค่ไหน จะเว้นระยะและให้เกียรติลูกอย่างไร ความหวังดีจะไม่เป็นการทำร้ายกัน

  • RUOK196 จากโครงสร้างอำนาจนิยม ทำอย่างไรที่จะหยุดการใช้ความรุนแรงในโรงเรียน

    20/08/2020 Duration: 37min

    จากเอพิโสดที่แล้ว R U OK คุยกันให้เห็นภาพครูใช้ความรุนแรงกับนักเรียน มาถึงเอพิโสดนี้ที่ครูก็อยากพูดความในใจจากการถูกบูลลี่ เพื่อนำมาสู่การเห็นโครงสร้างอำนาจนิยมในโรงเรียนและหยุดการใช้ความรุนแรงในที่สุด

  • RUOK195 SOGIESC หลักการเข้าใจเพศกำเนิด เพศสภาพ และเพศที่อยากให้คนอื่นรับรู้

    17/08/2020 Duration: 36min

    ช่วงวัยเรียน นักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มีโอกาสถูกบูลลี่มากเป็นอันดับต้นๆ คือกลุ่มเพศหลากหลาย เนื่องจากความไม่เข้าใจและไม่เคารพในความแตกต่าง ทั้งที่ในช่วงวัยนั้นคือการตามหาเอกลักษณ์และความรับรู้ทางเพศ และบางคนอาจดำเนิน เลื่อนไหลไปทั้งชีวิต R U OK ชวน กรองแก้ว ปัญจมหาพร ผู้เชี่ยวชาญงานส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ ชี้ให้เห็นว่าโลกนี้ไม่ได้มีแค่เพศกำเนิด ตั้งแต่ยังมีเพศสภาพ สำนึกทางเพศ ​และเพศที่อยากให้คนอื่นรับรู้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรงตามอวัยวะเพศ และสามารถเปลี่ยนแปลงเลื่อนไหลได้เสมอ และนั่นคือความงดงามในความหลากหลายของมนุษย์

  • RUOK194 เอ็นดู หวังดี ไม่ตั้งใจ ครูอาจบูลลี่นักเรียนได้โดยไม่รู้ตัว

    13/08/2020 Duration: 28min

    การบูลลี่เกิดขึ้นเพราะโครงสร้างทางอำนาจที่ครอบอยู่ในหลายหน่วยของสังคม โดยเฉพาะในรั้วโรงเรียน โครงสร้างทำให้คนกลุ่มหนึ่งมีอำนาจเหนือกว่าคนอีกกลุ่ม หลายครั้งการบูลลี่จึงเกิดขึ้น R U OK ไม่ได้ต้องการชี้เป้าว่าใครเป็นคนผิด แต่อยากชวนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นในรั้วโรงเรียนหลายครั้งเกิดขึ้นเพราะ ‘คุณครู’ ผู้ถืออำนาจและอาจเกิดแผลทางใจแก่ ‘นักเรียน’ โดยไม่ทันระวัง ร่วมแชร์เสียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านตัวแทน ‘นักเรียนเลว’

  • ROK193 ฟังตำรวจผู้ทำคดีล่วงละเมิดทางเพศ และหากถูกแบล็กเมลควรทำอย่างไร

    10/08/2020 Duration: 47min

    พื้นที่โซเชียลมีเดียนอกจากใช้ติดต่อสื่อสาร ยังเป็นพื้นที่สีเทาหมิ่นเหม่ที่เต็มไปด้วยคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จุดประสงค์ บางครั้งคือการล่อลวงที่เราต้องรู้เท่าทัน R U OK ชวน พ.ต.อ.มรกต แสงสระคู ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศเด็กและวัยรุ่นในพื้นที่โซเชียลมีเดีย ว่าเราควรสอดส่องระมัดระวังการถูกล่วงละเมิดทางเพศอย่างไร ผู้กระทำมีขั้นตอนอย่างไร และหากตกเป็นเหยื่อเราขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่รัฐอย่างไรได้บ้าง

  • RUOK192 ถูกเพื่อนแบน การบูลลี่ทางสังคมที่หลายคนอาจมองข้าม

    06/08/2020 Duration: 34min

    การโดนแบน อาจเป็นเหมือนเรื่องธรรมดาในโรงเรียนมัธยมฯ แต่แท้จริงแล้วคือส่วนหนึ่งของความรุนแรง และคือการบูลลี่ทางสังคมที่มีลักษณะไม่นับรวมกลุ่ม กันออก รวมถึงการแบน R U OK ชวนทวิตเตอร์ ‘นักเรียนเลว’ และ ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล มาแลกเปลี่ยนสภาพจริงที่นักเรียนมัธยมฯ ต้องพบเจอ พร้อมทั้งช่วยกันหาทางออกในสายตาของทั้งนักเรียนและครูว่าจะทำอย่างไรให้สังคมโรงเรียนตระหนักถึงปัญหานี้

  • RUOK191 ใช้โซเชียลมีเดียอย่างไรให้ใจแข็งแรงและมีวิจารณญาณ

    03/08/2020 Duration: 32min

    ทุกวันนี้เราเสพข่าวผ่านโซเชียลมีเดียเป็นหลัก หลายครั้งข่าวก็พาเราใจฟู และบางครั้งก็พาดิ่งให้หดหู่เนื่องจากการเสพข่าวที่มากเกินไป จนเกิดคำถามว่าอารมณ์เราต้องขึ้นลงตามการเสพข่าวอย่างนี้ต่อไปหรือ? R U OK ชวน ธนกร วงษ์ปัญญา Content Creator การเมือง ประจำสำนักข่าว THE STANDARD มาช่วยแยก Fake News ออกจากข่าวจริง การเสพข่าวอย่างมีวิจารณญาณ หรือใช้โซเชียลฯ ที่บางเรื่องก็ไม่ควรเผยแพร่ เพื่อให้เราเท่าทัน มั่นคง และมี Digital Resilience ในยุคที่ข้อมูลล้นทะลักแบบนี้   #dtacSafeInternet#ฝึกใจให้เห็นหัวใจ

  • RUOK190 ทำความเข้าใจโครงสร้างอำนาจในสังคมไทย ทำไมมีผลต่อการบูลลี่

    30/07/2020 Duration: 37min

    RUOK คุยกับ ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างของครอบครัว การเรียนการสอนในโรงเรียน ระบบอาวุโสในมหาวิทยาลัย และโลกการทำงาน ที่มีลำดับชั้นอำนาจ ซึ่งอาจทำให้เห็นความเป็นไปของการบูลลี่ในสังคมไทยได้ชัดเจนขึ้น

  • RUOK189 Bystander บุคคคลสำคัญที่หลายคนมองข้ามเมื่อเกิดการบูลลี่

    28/07/2020 Duration: 32min

    เมื่อเกิดการบูลลี่ หลายคนจะมองเห็นแค่ผู้กระทำและเหยื่อ แต่เมื่อมองดีๆ ทุกเหตุการณ์จะมีคนที่อยู่รายรอบ และมักวางเฉยR U OK เอพิโสดนี้ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ คุยกับ นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่นว่า ‘Bystander’ หรือ ‘พยานแวดล้อม’ มีผลอย่างไรกับการบูลลี่ ทั้งๆ ที่พวกเขาเหล่านั้นคือคนจำนวนมากที่อยู่ในเหตุการณ์ ซึ่งน่าจะคือกลุ่มคนสำคัญที่น่าจะเปลี่ยนแปลง และหยุดวงจรการบูลลี่ได้

page 6 from 17